คลัง เผยจัดมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2567 เกือบ 1 แสนล้านบาท ถึงมือประชาชน 7.4 แสนราย
นายลวรณแสงสนิทปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่าจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่การประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชนเป็นอย่างมากดังนั้นเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนกระทรวงการคลังร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐทั้ง8แห่งได้แก่ธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ได้ร่วมกันออกมาตรการด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบอาชีพ และประกอบธุรกิจต่อไปได้
สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือลูกหนี้ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามกลุ่มเป้าหมายของแต่ละสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ซึ่งมีทั้งมาตรการพักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย รวมไปถึงมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตัวอย่างเช่น ธนาคารออมสิน พักชำระหนี้เงินต้น
และลดดอกเบี้ยอัตโนมัติให้แก่ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยและSMEsธ.ก.ส.ขยายระยะเวลาชำระหนี้ของลูกหนี้เกษตรกรรวมถึงมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและยกเว้นดอกเบี้ยปรับธอส.ลดเงินงวดและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่
ลูกค้าสินเชื่อบ้าน ธสน. ขยายระยะเวลากู้ สำหรับผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าทั้งที่มีวงเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว
ธพว.พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการSMEsรวมถึงให้วงเงินกู้ฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการในส่วนของบสย.ซึ่งค้ำประกันหนี้ให้แก่ผู้ประกอบการSMEsได้ออกมาตรการช่วยเหลือทั้งที่เป็นลูกค้าของบสย.และลูกหนี้ของบสย.นอกจากนี้ธอท.ได้ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและการยกเว้นค่าชดเชยผิดนัดชำระและธนาคารกรุงไทยได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครอบคลุมการลดภาระทางการเงินทั้งปรับลดค่างวดการผ่อนชำระการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการให้วงเงินฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพรวมถึงการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินของรัฐ 8 แห่งตามที่ได้กล่าวไปแล้ว กระทรวงการคลังยังได้มีมาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับผู้ประสบอุทกภัย ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น โดยจัดสรรวงเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท จากโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับมาฟื้นฟูกิจการเพื่อประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจได้ต่อไปภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประสบอุทกภัยได้รับสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวรวมถึงโครงการสินเชื่ออื่น ๆ จากสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอรวมถึงสร้างความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน บสย. ได้จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ฟื้นฟู No One Left Behind วงเงินค้ำประกัน 1,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย
ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวสรุปว่าจากมาตรการที่กระทรวงการคลังร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐทั้ง8แห่งได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วนในตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีประชาชนที่ประสบอุทกภัยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินของรัฐทั้ง8แห่งเป็นจำนวนมากกว่า740,000ราย
รวมยอดหนี้มากกว่า94,000ล้านบาทสำหรับการดำเนินมาตรการด้านการเงินในระยะต่อไปจะเป็นการเน้นการเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการฟื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการสร้างโอกาสใหม่ๆให้แก่ประชาชนสามารถกลับมามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน
กระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดูแลพี่น้องทุกกลุ่มอย่างเต็มที่โดยจะผลักดันนโยบายรัฐบาลต่างๆให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมสามารถดูแลคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพและกำหนดแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวโดยกระทรวงการคลังจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
© ไทยนิวส์เอ็กซ์เพรส